Scroll To Top
บทความยอดนิยม

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

จุลินทรีย์สามารถทำเองได้ ซึ่งแหล่งที่สามารถเก็บจุลินทรีย์ได้แก่ บริเวณที่มีเศษใบไม้ ร่วงหล่นทับถม ดินจากป่าลึก เป็นต้น บริเวณเหล่านี้จะมีตัวจุลินทรีย์อาศัยอยู่ ซึ่งภาคกลางโดยสถาบัน การพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของนายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการทำหัว เชื้อจุลินทรีย์ใช้เอง มีชื่อเรียกว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ TM ทองเหมาะ เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตปุ๋ยหมัก ชีวภาพและน้ำสกัดชีวภาพ โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์แห้ง 
วัสดุอุปกรณ์
1. ดินที่เก็บจากป่าลึก
72-1
กิโลกรัม
2. แกลบดิบใหม่
1
ปิ๊บ
3. ใบไม้แห้ง (เน้นใบไผ่)
1
ปิ๊บ
4. น้ำสะอาด
1
บัวรดน้ำ
5. รำละเอียด
1
ปิ๊บ
6. รองปูน(ปิดด้านล่าง)
1
ใบ
7. กระเบื้องมุงหลังคา
2
แผ่น

หมายเหตุ : ถ้าใช้น้ำประป่าต้องนำมาพัก 1 คืน เพื่อให้คลอรีนระเหย

ขั้นตอน/วิธีทำการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์แห้ง 
ขั้นตอนที่ 1 นำแกลบดิบลงอ่างตามด้วยใบไม้แห้งคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำน้ำสะอาดใส่ ฝักบัวรดให้ความขั้น 50% ใส่ดินที่เก็บจากป่าลึก 72 กิโลกรัม เคล้าให้เข้ากัน ใส่รำละเอียดเคล้าให้เข้า กันให้ทั่วอ่าง แล้วจึงปิดด้วยกระเบื้องลอนคู่ ตรวจดูทุกๆ 24 ชั่วโมง แล้วค่อยกลับเพื่อระบายอากาศ ประมาณ 5-6 วัน จะขึ้นรา กลิ่นหอมคล้ายเห็ดโคน ประมาณ 20 วัน จะได้จุลินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่ โดย ทุกๆ 20-30 วัน ควรเอาใบไม้ แกลบและรำละเอียดโรย แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันเพื่อเป็นการเลี้ยง จุลินทรีย์ เราต้องนำจุลินทรีย์แห้งที่ได้นี้ไปเลี้ยงต่อในน้ำสะอาดผสมกากน้ำตาล เพื่อทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ในลำดับต่อไป


รูปที่ 1 การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีวัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติมดังนี้
1.ถังพลาสติกขนาด            200ลิตรมีฝาปิด    1              ถัง
2.น้ำสะอาด          175         ลิตร
3.กากน้ำตาล        15           ลิตร
4.ถุงไนลอน (ขนาด 8” *12” เย็บเหมือนปลอกหมอนมีหูรูด) 1 ถุง

ขั้นตอน/วิธีทำ
ขั้นตอนที่ 2 นำน้ำสะอาดใส่ในถัง 175 ลิตร ใส่กากน้ำตาล แล้วคนให้กากน้ำตาล ละลาย นำถุงไนลอนบรรจุจุลินทรีย์แห้งที่ทำไว้ในขั้นแรก นำมาใส่ในถังน้ำแกว่งถุงไปมา แล้วปิดฝาถังให้ สนิทระบายอากาศทุก 24 ชั่วโมง หมักไว้ 15 วัน จะขึ้นราจะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อมที่จะ นำไปใช้งาน



รูปที่ 2 การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ

ประโยชน์หัวเชื้อจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ ให้กลายเป็นสารอาหารแก่พืช โดยจุลินทรีย์ สามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประลิทธิภาพจะสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินแบ่ง ประโยชน์ของหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ ดังนี้

ด้านเกษตร ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำช่วยแก้ปัญหาจากแมลง ศัตรูพืช และโรคระบาดต่างๆ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม ช่วยย่อยสลาย อินทรียวัตถุให้เป็นอาหารแก่พืช

ด้านปศุสัตว์ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ไก่ และสุกร ได้ช่วยกำจัดน้ำเสีย จากฟาร์มได้ภายใน 1 -2 สัปดาห์ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการดัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้า ดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์แข็งแรง

ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่ง เป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์อื่นที่เลี้ยงได้ช่วยลดปริมาณ ขี้เลนในบ่อช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นหมักใช้กับพืชต่างๆ ได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยบำบัดน้ำเสียจากวิธีทำการเกษตร การปศุสัตว์การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป ช่วยกำจัดกลิ่นจากกองขยะ ช่วยปรับสภาพ ของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกพืช

การเพาะเลี้ยงจุลินทรืย์ (ดินระเบิด) หรือจุลินทรืยํในพื้นที่ (IMO)
ส่วนประกอบ
1.ดินสมบูรณ์ 1 กิโลกรัม
2.รำละเอียด 1 กิโลกรัม
3.รำอ่อน 72 กิโลกรัม
4.น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
5.น้ำเปล่า 1 - 3 แก้ว

วิธทำ
1.นำดินที่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นหรือในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ใต้ต้นไมใหญ่หรือ บริเวณกอไผ่ที่มีใบไม้ทับถมและย่อยสลายดีแล้ว กวาดใบไม้อกขุดลึกลงไป ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ให้นำรากพืชมาด้วยคลุกรำละเอียดและน้ำตาล2 ช้อนโต๊ะ แล้วเติมน้ำเปล่าประมาณ 1 - 3 แก้ว บันเป็นก้อน วางไว้ในที่อากาศ ถ่ายเทสะดวกหรือความชื้น 65 เปอร์เซ็นต์ เอามือกำจนไม่มีน้ำไหลออกตามร่องมือ
2.เพาะเลี้ยงไว้ 2 - 3 คืน จะเป็นก้อนแข็งและมีราสีขาวเกิดกระจายทั่วไป

การใช้ประโยชน์
1.นำก้อนดินที่ได้โยนใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย จะช่วยบำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดีได้
2.ช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมัก
3.ย่อยสลายไขมัน ท่ออุดตัน
4.ช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า วัสดุอุปกรณ์
1.หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
2.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3.ถุงพลาสติกทนร้อน
3.ปลายข้าว
4.ยางวงและแม็กเย็บกระดาษ

ขั้นตอน/วิธีการทำ
1.นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือกประมาณ 800 กิโลกรัม มาล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำไว้ประมาณ 12-14 ชั่วโมง
2.นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงที่แช่น้ำแล้วไปต้มน้ำเดือด (ประมาณ 15 นาที) แล้วตักออก ผึ่งบนตะแกรง ให้แห้งพอหมาดๆ แล้วนำไปบรรจุถุงพลาสติกทนความร้อน ถุงละ 500 กรัม
3.ใส่คอขวดพลาสติกแล้วปิดด้วยจุกสำลีแล้วใช้กระดาษอลูมิเนียมหรือกระดาษปิด ทับอีกชั้นหนึ่ง
4.นำถุงเมล็ดข้าวฟ่างแดงไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค ด้วยอุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียล ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 - 60 นาที (ถ้าเป็นหม้อนึ่งลูกทุ่งใช้เวลานาน 3 ชั่วโมง)
5.นำถุงเมล็ดข้าวฟ่างออกจากหม้อนึ่ง ทิ้งไวให้เย็น จากนั้นจึงนำไปใส่หัวเชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่าต่อไป
6.เมื่อใส่หัวเชื้อราในถุงเมล็ดข้าวฟ่างแดงเสร็จแล้ว ให้นำไปเก็บไว้ในห้องหรือในร่มใต้ ถุนบ้าน ไม่ให้ถูกแสงแดด รออีกประมาณ 10 -15 วัน ก็สามารถนำเชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่าไปฉีดพ่นควบคุมโรคพืชต่อไป

การใช้ประโยชน์
1.ใช้เพื่อป้องกันโรค (พืชยังไม่แสดงอาการของโรค) เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดการเตรียมด้นกล้าพืช การปลูกในสภาพธรรมชาติ จนถึงระยะพืชเจริญเติบโตให้ ผลผลิต
2.การใช้เพื่อรักษาโรค (พืชแสดงอาการของโรคแล้ว) การใช้เชื้อรานี้เพื่อรักษาพืชที่เป็นโรคแล้วนั้นเหมาะสำหรับพืชยืนต้นเช่นไม้ผล แต่ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง เพราะอาจไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง จึงควรใช่วิธีอื่นร่วมด้วย หากมี การระบาดของโรคอย่างรุนแรง

แบ่งปันบทความ:

ไม่มีความคิดเห็น " การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ "