Scroll To Top
บทความยอดนิยม

การแปรรูปอาหาร

การขยายพันธุ์พืช

การทำปุ๋ยชีวภาพ

การทำเครื่องอุปโภค

การปลูกพืชส่งออก

Recent Posts

การทำปุ๋ยพืชสด

การทำุ๋ยพืชสด
ุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการไถกลบต้นใบและส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในระยะช่วงออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่มี ธาตอาหารในสำต้นสูงสุดแล้วปล่อยให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแกพืชที่ปลูกตามมา นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาในการกำจัดวัชพืชได้อีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์
1. พืชตระกูลถั่ว (เป็นพืชที่เหมาะจะนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดมากกว่าประเภทอื่น เพราะเป็นพืชที่มีคุณค่าทางธาตุอาหารสูงต่อพืชปลูก)
2. พืชชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว
3. พืชน้ำ

ขั้นตอน /วิธีทำปุ๋ยพืชสด
1. ปลูกพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสด 3 กลุ่มพืชดังที่กล่าวข้างต้นร่วมกับพืชปลูกในแปลงปลูก โดยอาจพิจารณาปลูกพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดชนิดต่างๆ ตามความสัมพันธ์กับพืชปลูก
2. เมื่อถึงกำหนดอายุของพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดให้ตัดลับและไถกลบลง ในแปลงปลูก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างอายุที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวของพืช บางชนิด เช่น โสนอินเดีย ตัดสับและไถกลบเมื่ออายุ 80- 90 วันหลังปลูก ถั่วนา ไถกลบเมื่ออายุ 75 วันหลังปลูก เป็นต้น


3.การพิจารณาในแง่ใช้ประโยชน์สูงสุด ต้องพิจารณาจากลักษณะพื้นที่ในการปลูก เป็นหลัก โดยแบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
          - ปลูกพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดในลักษณะพื้นที่เป็นแปลงใหญ่ ให้ทำการ ตัดลับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลยก่อนที่จะปลูกพืชปลูกหลักชนิดอื่นๆตามมา
          - ปลูกพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดในลักษณะตามร่องระหว่างพืชปลูกหลัก โดยปลูกพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดหลังจากพืชปลูกหลักเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหาร ในดิน เมื่อพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานก็ทำการตัดลับและไถกลบลงไปในดิน ระหว่างร่องพืชปลูกหลัก
         - ปลูกพืชที่จะนำมาทำปุ๋ยพืชสดในลักษณะพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยปลูกพืชที่จะ นำมาทำปุ๋ยพืชสด (พืชน้ำ)แล้วตัดลับใส่และไถกลบลงไปในดินก่อนที่จะทำการปลูกพืชหลักเช่นนา ข้าว นาบัว และนาแห้ว เป็นต้น

การใช้ประโยชน์
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุและเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่พืชปลูก
2. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและทำให้ดินร่วนซุยสะดวกในการไถดิน
3. กรดจากการย่อยสลายช่วยละลายธาตุต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่พืชปลูก
4. ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเพราะดินมีธาตุอาหารเพียงพอต่อพืชปลูก

5. ลดอัตราการสูญเสียดินเนื่องจากการชะล้างพังทลายของดิน (soilerosion)

การตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง


การตอนกิ่ง คือการทำให้กิ่งพันธุ์เกิดรากขึ้นในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ ซึ่งต้นไม้บาง ชนิดก็สามารถออกรากได้เองตามธรรมชาติ แต่บางชนิดจะต้องช่วยกระตุ้นกิ่งจึงจะออกรากกิ่งพันธุ์ที่ได้จากวิธีการนี้เรียกว่า “กิ่งตอน” อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ปลูกด้วยกิ่งตอนจะไม่มีรากแก้วจึงอาจมีปัญหาการโค่นล้มได้ง่าย และไม้ผลบางชนิดต้องใช้เวลานานในการตอน จึงออกรากส่วนใหญ่ติดกับ ต้นไม้ที่มียาง วิธีนี้เหมาะสมสำหรับไม้ผลบางชนิด เช่น ล้ม มะนาว ลิ้นจี้ ละมุด ชมพู่ ลำไย รวมทั้งไม้ ดอกไม้ประดับบางชนิด เช่น กุหลาบ ชบา เป็นต้น

วัสดุ/อุปกรณ์       
1. มีดตอนกิ่งหรือมีดเล็ก

2. ดินใช้สำหรับหุ้มรอยแผลที่ควั่น ควรเป็นดินร่วนซุย ดินผสมปุ๋ยคอก หรือดินผสมซากที่เน่าเปื่อย เช่น ซากใบก้ามปู ใบทองหลางกับมูลวัวหรือ มูลกระบือ
3.ฮอรโมนใช้สำหรับกระตุ้น หรือกะปิ ทาบริเวณที่ควั่นกิ่ง
4. กาบมะพร้าวใช้สำหรับหุ้มรอยควั่น แช่น้ำไว้ก่อนประมาณ 1-2 เดือน



5. เชือกพลาสติก หรือเชือกฟาง หรือตอก ใช้สำหรับผูกมัดก้านมะพร้าว

6. แผ่นพลาสติกหรือใบตองแห้ง ใช้สำหรับหุ้มกาบมะพร้าวอีกชั้นหนึ่ง
7. กรรไกรตัดกิ่ง ใช้สำหรับตัดกิ่งเมื่อตอนออกรากดีแล้ว


ขั้นตอน/วิธีตอนกิ่ง           
1. เลือกกิ่งที่จะตอนจากต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงรบกวน เลือกกิ่ง ที่ไม่อ่อนและแก่จนเกินไป ยาวประมาณ 6-12 นิ้ว อายุประมาณ 6-12 เดือน และมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเท่า แท่งดินสอดำหรือไม่เกิน 1 เซนติเมตร เป็นกิ่งที่แตกออกจาก สำต้น หรือส่วนยอดของสำต้น มีข้อตาสม่ำเสมอ ถ้ายอดคลี่ ไม่เต็มที่หรือยังอ่อนอยู่ไม่ควรเลือกกิ่งนั้น และไม่ควรเลือก กิ่งที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะลอกยากและออกรากน้อย เมื่อตัดกิ่งไปปลูกทำให้ยากต่อการดูแลรักษา
2. ใช้มีดตอนกิ่งหรือคัดเตอร์ ควั่นกิ่งให้รอยควั่นอยู่ด้านบนหรืออยู่ใต้ตอ หรือตา รอยควั่นควรห่างกันเท่ากับเส้นรอบวงกิ่ง
3. กรีดระหว่างรอยควั่น แกะเปลือกออก ขูดเนื้อเยื่อบนกิ่งออกให้หมด โดยขูจากยอดลงมาหาโคน ระวังอย่าให้เปลือกบนช้ำเพราะรากจะออกทาง ด้านบน หากกิ่งพันธุ์มียาง ควรผึ่งยางให้แห้งเสียก่อน


4. ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ทาฮอร์โมนเร่งรากหรือกะปิบริเวณรอยแผลส่วนบน
5. หุ้มด้วยขุยมะพร้าวอุ้มน้ำหมาดๆ แล้วห่อทับด้วยพลาสติก มัดเชือกให้ แน่นทั้งบนและล่าง


6. ประมาณ 25-30 วัน จะมีรากสีขาวเกิดขึ้นในถุงพลาสติก รอจนมีราก มากพอ สามารถตัดและนำไปปักชำก่อนนำไปปลูกในสวน

การใช้ประโยชน์
1. ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากมัก
2. ให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ดและการปักชำ เมื่อเปรยบเทียบ กับพืชชนิดเดียวกัน
3. ทำให้ไม่กลายพันธุ์ ต้นพืชใหม่ที่ได้จะให้ดอก ผล เหมือนต้นเดิมทุกประการ มีทรงต้นเป็นพุ่มไม่สูงใหญ่จนเกินไป สะดวกต่อการดูแลรักษาและเก็บ

วิธีปลูกบอนสีเพื่อส่งออก

วิธีปลูกบอนสีเพื่อการส่งออก


บทนำ
บอนสี หรือราชินีไม้ใบ เป็นพืชที่มีความสวยงาม หลากหลายทั้งสายพันธ์ ทรงพุ่ม รูปร่าง และสีสันของใบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจัดเป็นพืชหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออกที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ ซึ่งเกษตรกรไทยได้มีการปลูกบอนสีเชิงการค้าจำหน่ายเป็นไม้กระถางไม้ใบมานานแล้วและขยายการปลูกเป็นแปลงผลิตหัวพันธ์เพื่อการส่งออกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก แต่การผลิตบอนสีเพื่อการส่งออกยังอยู่ในวงจำกัด และไม่สามารถผลิตบอนสีสายพันธุ์ต่างๆตามปริมาณที่ตลาดโลกต้องการได้ เนื่องจากขาดข้อมูลทางด้านการผลิตและการเชื่อมโยงเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ส่งออก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการพัฒนาการผลิต และการตลาดบอนสีเพื่อการส่งออกให้เอื้ออำนวยต่อการส่งออกของเกษตรกรอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้การผลิตบอนสีเพื่อการส่งออกดำเนินไปด้วยดี และก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการเกษตรกรและประเทศในที่สุด


ปัจจัยการผลิตในการทำแปลงปลูกบอนสี 1 แปลง 1 ไร่ มีดังนี้
1. ค่าหัวพันธุ์ 2,000หัว (ผู้รับซื้อให้ยืมหัวพันธุ์)
2. ค่าวัสดุปลูก (ทรายหยาบ แกลบดิน ขี้เถ้าแกลบ ขุยมะพร้าว พลาสติก) เงิน 5,000 บาท
3. ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 1,000 กก. เงิน  3,000 บาท
4. ค่าตะกร้าแยกเก็บพันธุ์บอนสี จำนวน 20 ใบ เงิน 1,000 บาท
5. ค่ากล่องพลาสติกเพาะพันธุ์บอนสี 20 กล่อง เงิน 200 บาท
6. ค่าระบบน้ำ เงิน 12,000 บาท รวมเป็นเงิน 23,200 บาท

ขั้นตอนดำเนินงาน
ประชุมเชื่อมโยงด้านการผลิตและการตลาดร่วมกำหนดทางเลือกโดยประสานงานให้เกษตรกรผู้ผลิตมีโอกาสพบผู้รับซื้อเพื่อทำการตกลงซื้อขายกันและจัดประชุมเชื่อมโยงการผลิตการตลาดในระดับท้องถิ่น

ผลลิต
ปัจจัยการผลิตบอนสีต่อพื้นที่ 5 ไร่ เกษตรกร 20-30 คน ประมาณผลผลิตที่ได้รัย 20,000 หัว x 5 ไร่ = 100,000 หัว

การตลาดและผลตอบแทน
100,000 หัว x 10 บาท เงิน 1,000,000 บาท

วิธีทำครีมนวดผม

วิธีทำครีมนวดผมสูตรน้ำมันมะกอก-มะกรูด 
วัสดุ/อุปกรณ์
1. Dehydag Wax-AB        1 กิโลกรัม
2. Dehyquart AC              500 ซีซี
3. น้ำมันมะกอก                10 ซีซี
4. หัวน้ำหอม                     20 ซีซี
5. สารกันเสีย                    15 ซีซี
6. น้ำสะอาด                      11 ลิตร
7. มะกรูด                          0.7 กิโลกรัม / น้ำ 5 ลิตร

วิธีทำ/ขั้นตอน
1. ต้มน้ำ 15ลิตรให้ร้อนใส่ Waz-AB กวนให้ละลาย ยกลงจากเตา
2. ใส่ AC น้ำมันมะกอก กวนให้เข้ากัน
3. แล้วค่อยใส่น้ำสมุนไพรลงไปกวนให้เข้ากัน
4. เติมน้ำสะอาด กวนให้เข้ากัน
5. เติมสารกันเสีย น้ำหอม กวนให้เข้ากัน
6. แล้วจึงบรรจุขวด


ครีมนวดผมสูตรน้ำมันมะกอก-น้ำผึ้ง



วัสดุ/อุปกรณ์
1. Wax ครีมนวด                                     1              กิโลกรัม
2. AC ปรับสภาพเส้นผมทำให้ผมลื่น      0.5          กิโลกรัม
3. น้ำผึ้ง                                                   15           ซีซี
4. กันเสีย                                                 15           ซีซี
5. น้ำมันมะกอก                                      10           ซีซี
6. สมุนไพรเพื่อบำรุงเส้นผม                   0.5          ลิตร
7. น้ำละลาย                                             6.5          ลิตร
8. น้ำหอม เพิ่มกลิ่น                                 20           ซีซี

วิธีทำ/ขั้นตอน
1. ต้มน้ำให้ร้อน
2. ใส่ WaX แล้วคนให้ละลาย
3. ใส่ AC และส่วนผสมข้อ 3-7 คนให้เข้ากัน
4. รอให้เย็น ใส่น้ำหอม
5. คนให้เข้ากัน แล้วบรรจุขวด

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

จุลินทรีย์สามารถทำเองได้ ซึ่งแหล่งที่สามารถเก็บจุลินทรีย์ได้แก่ บริเวณที่มีเศษใบไม้ ร่วงหล่นทับถม ดินจากป่าลึก เป็นต้น บริเวณเหล่านี้จะมีตัวจุลินทรีย์อาศัยอยู่ ซึ่งภาคกลางโดยสถาบัน การพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของนายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการทำหัว เชื้อจุลินทรีย์ใช้เอง มีชื่อเรียกว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ TM ทองเหมาะ เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตปุ๋ยหมัก ชีวภาพและน้ำสกัดชีวภาพ โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์แห้ง 
วัสดุอุปกรณ์
1. ดินที่เก็บจากป่าลึก
72-1
กิโลกรัม
2. แกลบดิบใหม่
1
ปิ๊บ
3. ใบไม้แห้ง (เน้นใบไผ่)
1
ปิ๊บ
4. น้ำสะอาด
1
บัวรดน้ำ
5. รำละเอียด
1
ปิ๊บ
6. รองปูน(ปิดด้านล่าง)
1
ใบ
7. กระเบื้องมุงหลังคา
2
แผ่น

หมายเหตุ : ถ้าใช้น้ำประป่าต้องนำมาพัก 1 คืน เพื่อให้คลอรีนระเหย

ขั้นตอน/วิธีทำการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์แห้ง 
ขั้นตอนที่ 1 นำแกลบดิบลงอ่างตามด้วยใบไม้แห้งคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำน้ำสะอาดใส่ ฝักบัวรดให้ความขั้น 50% ใส่ดินที่เก็บจากป่าลึก 72 กิโลกรัม เคล้าให้เข้ากัน ใส่รำละเอียดเคล้าให้เข้า กันให้ทั่วอ่าง แล้วจึงปิดด้วยกระเบื้องลอนคู่ ตรวจดูทุกๆ 24 ชั่วโมง แล้วค่อยกลับเพื่อระบายอากาศ ประมาณ 5-6 วัน จะขึ้นรา กลิ่นหอมคล้ายเห็ดโคน ประมาณ 20 วัน จะได้จุลินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่ โดย ทุกๆ 20-30 วัน ควรเอาใบไม้ แกลบและรำละเอียดโรย แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันเพื่อเป็นการเลี้ยง จุลินทรีย์ เราต้องนำจุลินทรีย์แห้งที่ได้นี้ไปเลี้ยงต่อในน้ำสะอาดผสมกากน้ำตาล เพื่อทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ในลำดับต่อไป


รูปที่ 1 การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีวัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติมดังนี้
1.ถังพลาสติกขนาด            200ลิตรมีฝาปิด    1              ถัง
2.น้ำสะอาด          175         ลิตร
3.กากน้ำตาล        15           ลิตร
4.ถุงไนลอน (ขนาด 8” *12” เย็บเหมือนปลอกหมอนมีหูรูด) 1 ถุง

ขั้นตอน/วิธีทำ
ขั้นตอนที่ 2 นำน้ำสะอาดใส่ในถัง 175 ลิตร ใส่กากน้ำตาล แล้วคนให้กากน้ำตาล ละลาย นำถุงไนลอนบรรจุจุลินทรีย์แห้งที่ทำไว้ในขั้นแรก นำมาใส่ในถังน้ำแกว่งถุงไปมา แล้วปิดฝาถังให้ สนิทระบายอากาศทุก 24 ชั่วโมง หมักไว้ 15 วัน จะขึ้นราจะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อมที่จะ นำไปใช้งาน



รูปที่ 2 การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ

ประโยชน์หัวเชื้อจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ ให้กลายเป็นสารอาหารแก่พืช โดยจุลินทรีย์ สามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประลิทธิภาพจะสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินแบ่ง ประโยชน์ของหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ ดังนี้

ด้านเกษตร ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำช่วยแก้ปัญหาจากแมลง ศัตรูพืช และโรคระบาดต่างๆ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม ช่วยย่อยสลาย อินทรียวัตถุให้เป็นอาหารแก่พืช

ด้านปศุสัตว์ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ไก่ และสุกร ได้ช่วยกำจัดน้ำเสีย จากฟาร์มได้ภายใน 1 -2 สัปดาห์ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการดัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้า ดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์แข็งแรง

ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่ง เป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์อื่นที่เลี้ยงได้ช่วยลดปริมาณ ขี้เลนในบ่อช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นหมักใช้กับพืชต่างๆ ได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยบำบัดน้ำเสียจากวิธีทำการเกษตร การปศุสัตว์การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป ช่วยกำจัดกลิ่นจากกองขยะ ช่วยปรับสภาพ ของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกพืช

การเพาะเลี้ยงจุลินทรืย์ (ดินระเบิด) หรือจุลินทรืยํในพื้นที่ (IMO)
ส่วนประกอบ
1.ดินสมบูรณ์ 1 กิโลกรัม
2.รำละเอียด 1 กิโลกรัม
3.รำอ่อน 72 กิโลกรัม
4.น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
5.น้ำเปล่า 1 - 3 แก้ว

วิธทำ
1.นำดินที่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นหรือในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ใต้ต้นไมใหญ่หรือ บริเวณกอไผ่ที่มีใบไม้ทับถมและย่อยสลายดีแล้ว กวาดใบไม้อกขุดลึกลงไป ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ให้นำรากพืชมาด้วยคลุกรำละเอียดและน้ำตาล2 ช้อนโต๊ะ แล้วเติมน้ำเปล่าประมาณ 1 - 3 แก้ว บันเป็นก้อน วางไว้ในที่อากาศ ถ่ายเทสะดวกหรือความชื้น 65 เปอร์เซ็นต์ เอามือกำจนไม่มีน้ำไหลออกตามร่องมือ
2.เพาะเลี้ยงไว้ 2 - 3 คืน จะเป็นก้อนแข็งและมีราสีขาวเกิดกระจายทั่วไป

การใช้ประโยชน์
1.นำก้อนดินที่ได้โยนใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย จะช่วยบำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดีได้
2.ช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมัก
3.ย่อยสลายไขมัน ท่ออุดตัน
4.ช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า วัสดุอุปกรณ์
1.หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
2.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3.ถุงพลาสติกทนร้อน
3.ปลายข้าว
4.ยางวงและแม็กเย็บกระดาษ

ขั้นตอน/วิธีการทำ
1.นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือกประมาณ 800 กิโลกรัม มาล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำไว้ประมาณ 12-14 ชั่วโมง
2.นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงที่แช่น้ำแล้วไปต้มน้ำเดือด (ประมาณ 15 นาที) แล้วตักออก ผึ่งบนตะแกรง ให้แห้งพอหมาดๆ แล้วนำไปบรรจุถุงพลาสติกทนความร้อน ถุงละ 500 กรัม
3.ใส่คอขวดพลาสติกแล้วปิดด้วยจุกสำลีแล้วใช้กระดาษอลูมิเนียมหรือกระดาษปิด ทับอีกชั้นหนึ่ง
4.นำถุงเมล็ดข้าวฟ่างแดงไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค ด้วยอุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียล ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 - 60 นาที (ถ้าเป็นหม้อนึ่งลูกทุ่งใช้เวลานาน 3 ชั่วโมง)
5.นำถุงเมล็ดข้าวฟ่างออกจากหม้อนึ่ง ทิ้งไวให้เย็น จากนั้นจึงนำไปใส่หัวเชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่าต่อไป
6.เมื่อใส่หัวเชื้อราในถุงเมล็ดข้าวฟ่างแดงเสร็จแล้ว ให้นำไปเก็บไว้ในห้องหรือในร่มใต้ ถุนบ้าน ไม่ให้ถูกแสงแดด รออีกประมาณ 10 -15 วัน ก็สามารถนำเชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่าไปฉีดพ่นควบคุมโรคพืชต่อไป

การใช้ประโยชน์
1.ใช้เพื่อป้องกันโรค (พืชยังไม่แสดงอาการของโรค) เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดการเตรียมด้นกล้าพืช การปลูกในสภาพธรรมชาติ จนถึงระยะพืชเจริญเติบโตให้ ผลผลิต
2.การใช้เพื่อรักษาโรค (พืชแสดงอาการของโรคแล้ว) การใช้เชื้อรานี้เพื่อรักษาพืชที่เป็นโรคแล้วนั้นเหมาะสำหรับพืชยืนต้นเช่นไม้ผล แต่ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง เพราะอาจไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง จึงควรใช่วิธีอื่นร่วมด้วย หากมี การระบาดของโรคอย่างรุนแรง